วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

กระซู่





: Dicerorhinus sumatrensis : Rhinocerotidae

กระซู่เป็นสัตว์จำพวกแรด เนื่องจากมี นอ ซึ่งเป็นเขาที่เกิดจากการรวมตัวของเส้นขนจนแข็งติดอยู่บนดั้งจมูก ไม่มีแกนขาที่เป็นส่วนของกระโหลกศรีษะ ลักษณะเป็นเขาหรือนอเดี่ยว ถึงแม้กระซู่จะมีนอ 2 นอ แต่นอทั้ง 2 มีขนาดไม่เท่ากัน เรียงเป็นแถวอยู่บนดั้งจมูก ต่างจากเขาของวัว ควาย ซึ่งเป็นเขาคู่ขนาดเท่า ๆ กัน ตัวเขากลางสวมทับบนแกนกระดูกเขาบนกระโหลกศรีษะ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของกระซู่ที่ใช้อย่างเป็นทางการในปัจจุบัน ใช้ชื่อสกุล Dicerorhinus ซึ่งตั้งขึ้นโดย Gloger ในปี ค.ศ. 1841 ส่วนชื่อสกุลที่มีการใช้ซ้ำ ๆ กัน คือ Didermocerus ซึ่งเป็นชื่อสกุลที่ตั้งขึ้นก่อนนั้นเป็นชื่อที่ใช้ในทางการค้า ไม่ได้ตั้งขึ้นตามอนุกรมวิธาน จึงไม่ได้รับการยอมรับ ดังนั้นชื่อทางวิทยาศาสตร์ของกระซู่ตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติสงวนคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ที่ใช้เป็น Didermocerus Sumatrensis จึงไม่ถูกต้องตามหลักการใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์
กระซู่เป็นภาษากะเหรี่ยงที่เรียกแรดที่มี2นอกระซู่เป็นสัตว์จำพวก แรดที่มีขนาดเล็กที่สุดลักษณะ ทั่วไปคล้ายแรด คือมีลำตัวล่ำใหญ่ ขาทั้ง 4 ข้างสั้นใหญ่ เท้ามีกีบนิ้วแข็งข้างละ 3 นิ้ว ตาเล็ก ใบหูใหญ่ตั้งตรง แตกต่างกันที่ขนาดของตัวกระซู่จะเล็กกว่าหนังตามตัวบางกว่าไม่มีลายเป็นตุ่มหรือเม็ดมีหนังเป็นพับ ข้ามหลังบริเวณด้านหลังของหัวไหล่พับเดี่ยว ส่วนของแรดมี 3 พับชัดเจน มีขนตามตัวและขอบใบหูดกกว่า โดยเฉพาะช่วงอายุน้อย ๆ ครั้นเมื่ออายุมากขึ้นขนตามตัวอาจหลุดร่วงไปบ้าง เหนือโคนหางขึ้นไปถึงบริเวณสะโพกจะปรากฏรอย สันนูนของกระดูกหางชัดเจน และที่สำคัญคือ กระซู่มีนอ 2 นอ เรียงเป็นแถวบนสันดั้งจมูกนออันหน้ายาวกว่านออันหลัง ขนาดของนออันหน้ายาวประมาณ 25 เซนติเมตร ส่วนนออันหลังยาวเพียงประมาณ 10 เซนติเมตร นอหน้าของกระซู่เมียมักเล็กกว่า แต่ยาวกวานอตัวผู้ นอตัวผู้มักใหญ่กว่า แต่สั้นกว่านอตัวเมีย นอกจากนี้ กระซู่เมื่อโตเต็มวัย จะมีฟันหน้ากรามล่าง 2 ซี่ ส่วนแรดจะมีฟันหน้ากรามล่าง 4 ซี่ ขนาดของกระซู่ ส่วนสูงที่ไหล่ 1.0 –1.4 เมตร ขนาดตัว 2.4 – 2.6 เมตร หางยาว 0.65 เมตร น้ำหนักตัว 900 – 1,000 กิโลกรัม

ไม่มีความคิดเห็น: