วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร





นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร เป็นนกในวงศ์นกนางแอ่นชนิดใหม่ล่าสุดของโลก และเป็นนกชนิดแรกที่ค้นพบใหม่โดยคนไทย ทำการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบและจำแนกตัวอย่างต้นแบบโดยคนไทยและตั้งชื่อวิทยาศาสตร์โดยคนไทย โดยได้อันเชิญพระนามของเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเทพรัตนสุดา ( พระยศในขณะนั้น ) มาตั้งเป็นชื่อชนิดของนกที่พบใหม่นี้คือ “ Sirintarae ” นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรถูกพบครั้งแรกโดย คุณกิตติ ทองลงยา นักวิทยาศาสตร์ไทย ตำแหน่งภัณฑารักษ์ สัตว์มีกระดูกสันหลังบนบก ศูนย์รวมวัสดุอุเทศแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยศาสตร์ประยุกต์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2511 โดยได้นกตัวอย่างแรกนี้ปะปนมากับนกนางแอ่นชนิดอื่น ๆ ที่ชาวบ้านจับมาขายจากบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งในครั้งนั้นสามารถเก็บรวบรวมนกจากแหล่งเดิมจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ในปีเดียวกัน ได้นกตัวอย่างต้นแบบในการศึกษาวิเคราะห์ทั้งหมดรวม 10 ตัว ภายหลังจากการถูกค้นพบแล้ว มีรายงานพบนกที่ถูกจับมาขายอีก 2 ครั้ง ต่อมาในปี 2515 ได้พบนกจำนวน 2 ตัว และครั้งสุดท้ายพบเพียง 1 ตัวในปี 2521 นับจากนั้นยังไม่มีรายงานการพบเห็นอย่างเป็นทางการหรือถูกดักจับได้อีกจนถึงปัจจุบัน คลิกที่นี่ : มาดูเว็บโรงเรียนบ้านทองหลาง

กรูปรี


กรูปรี เป็นสัตว์จำพวกวัวป่าที่ค้นพบใหม่ล่าสุดของโลกเมื่อประมาณ 60 ปีมานี้เองโดยศาสตร์ตราจารย์ Achille Urbain อดีตผู้อำนวยการสวนสัตว์กรุงปารีส ( Paris Vincennes Zoo ) ประเทศฝรั่งเศษ เป็นบุคคลแรกที่ได้ทำการศึกษาวัวป่าชนิดนี้อย่างเป็นทางการ เริ่มต้นจากได้รับหัววัวสตั๊ฟที่มีเขาลักษณะประหลาดไม่เหมือนกับเขาวัวทั่ว ๆ ไป จากสัตวแพทย์ ดร. M.Sauvel ที่ได้หัวสัตว์นี้จากทางภาคเหนือของกัมพูชา ต่อมาได้รับลูกวัวตัวผู้ที่มีเขลักษณะประหลาดเหมือนกัน 1 ตัวจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งจับได้จากป่า Tchep ทางภาคเหนือของกัมพูชา จึงได้ทำการส่งไปเลี้ยงดูและทำการศึกษาที่สวนสัตว์หรุงปารีส ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1937 อีก 3 ปีต่อมา ลูกวัวตัวนี้ได้เสียชีวิตไปก่อนที่จะโตเต็มวัย ทำให้การศึกษาและข้อมูลที่ได้รับเกี่ยวกับวัวเขาประหลาดนั้นมีไม่มากนัก กูปรีหรือ " Kouprey " เป็นชื่อเรียกในภาษาเขมรที่เรียกลูกวัวป่าของศาสตราจารย์ Urbain ส่วนวัวป่าตัวโต ๆ สีเข้มคล้ำ คนเขมรส่วนใหญ่นิยมเรียกว่า Kouproh ซึ่งน่าจะเรียกเพี้ยนไปเป็นภาษาไทยว่า โครไพร หมายความว่า วัวป่า ส่วนคนลาวเรียกเรียกกรูปรีว่า วัวบา ลักษณะรูปร่างของกรูปรี มีหนอกหลังเป็นสันกล้ามเนื้อบาง ๆ ไม่โหนกหนาอย่างหนอกหลังของกระทิง มีเหนียงคอเป็นแผ่นหลังห้อยยานอยู่ใต้คอ คล้ายวัวบ้านพันธุ์เซบูของอินเดียแต่จะห้อยยาวมากกว่าโดยเฉพาะกรูปรีตัวผู้มีอายุมาก ๆ เหนียงคอจะห้อยยาวเกือบติดพื้นดิน ใช้แกว่งโบกไปมาช่วยระบายความร้อนได้เช่นเดียวกับหูช้าง ดั้งจมูกบานใหญ่มีรอยเป็นบั้ง ๆ ตามขวางชัดเจน รูจมูกกว้างเป็นรูปเลื่อยวงเดือน ใบหูแคบสั้น ไม่มีสันหระบังหน้าหน้าผากอย่างกระทิงและวัวแดง ใบหน้าของกรูปรีจึงด฿เรียบแบบวัวบ้าน หางยาว ปลายหางมีพู่ขนดกหนา สีขนตามตัวส่วนมากเป็นสีเทาในกรูปรีตัวเมีย และเป็นสีดำในตัวผู้ ส่วนลูกอายุน้อย ๆสีขนตามตัวจะเป็นสีน้ำตาลอ่อนคล้ายลูกวัวแดง เมื่ออายุมากขึ้น อายุประมาณ 4 - 5 เดือน สีขนตามตัวของตัวเมียจะเปลี่ยนเป็นสีเทาหรือสีขี้เถ้า ส่วนตัวผู้สีจะดำคล้ำขึ้นตามอายุ ขนาดของของกรูปรี โดยเฉลี่ยแล้วตัวผู้จะใหญ่และหนักกว่าตัวเมียมาก ขนาดตัวพอ ๆ กับกระทิง แต่สูงใหญ่กว่าวัวแดง ความยาวของช่วงลำตัวถึงหัว 2.10 - 2.22 เมตร ความสูงที่ไหล่ 1.71 - 1.90 เมตร หางยาว 1 - 1.1 เมตร ถือได้ว่าเป็นวัวป่าที่หางยาวที่สุดของไทย น้ำหนักตัว 700 - 900 กิโลกรัม
เขตการกระจายพันธุ์ของกรูปรี พบอยู่ในแถบภาคใต้ของลาวภาคเนือและภาคตะวันตกของกัมพูชาภาคตะวันตกของเวียดนาม และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ตามแนวชายแดนไทย - กัมพูชา ในประเทศไทยเคยมีกูปรีอาศัยอยู่ตามป่าแถบเทือกเขาพนมดงรักบริเวณจังหวัดสุรินทร์ ศรีษะเกษ บุรีรัมย์ อุบลราชธานีและนครราชสีมา ซึ่งเป็นจังหวัดชายแดนซึ่งติดต่อกับกัมพูชา ต่อมาได้ลดน้อยลงจนมีรายงานการพบกรูปรีอย่างเป็นทางการครั้งสุดท้าย จำนวน 6 ตัว ในปี พ.ศ. 2491 ต่อมาก็ได้มารายงานการพบเห็นตามคำบอกเล่าของพรานป่าพื้นบ้าน คาดว่ากรูปรีจะเป็นกรูปรีที่ย้ายถิ่นไปตามชายแดนไทย - กัมพูชา http://www.kpaook.com

กระซู่





: Dicerorhinus sumatrensis : Rhinocerotidae

กระซู่เป็นสัตว์จำพวกแรด เนื่องจากมี นอ ซึ่งเป็นเขาที่เกิดจากการรวมตัวของเส้นขนจนแข็งติดอยู่บนดั้งจมูก ไม่มีแกนขาที่เป็นส่วนของกระโหลกศรีษะ ลักษณะเป็นเขาหรือนอเดี่ยว ถึงแม้กระซู่จะมีนอ 2 นอ แต่นอทั้ง 2 มีขนาดไม่เท่ากัน เรียงเป็นแถวอยู่บนดั้งจมูก ต่างจากเขาของวัว ควาย ซึ่งเป็นเขาคู่ขนาดเท่า ๆ กัน ตัวเขากลางสวมทับบนแกนกระดูกเขาบนกระโหลกศรีษะ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของกระซู่ที่ใช้อย่างเป็นทางการในปัจจุบัน ใช้ชื่อสกุล Dicerorhinus ซึ่งตั้งขึ้นโดย Gloger ในปี ค.ศ. 1841 ส่วนชื่อสกุลที่มีการใช้ซ้ำ ๆ กัน คือ Didermocerus ซึ่งเป็นชื่อสกุลที่ตั้งขึ้นก่อนนั้นเป็นชื่อที่ใช้ในทางการค้า ไม่ได้ตั้งขึ้นตามอนุกรมวิธาน จึงไม่ได้รับการยอมรับ ดังนั้นชื่อทางวิทยาศาสตร์ของกระซู่ตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติสงวนคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ที่ใช้เป็น Didermocerus Sumatrensis จึงไม่ถูกต้องตามหลักการใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์
กระซู่เป็นภาษากะเหรี่ยงที่เรียกแรดที่มี2นอกระซู่เป็นสัตว์จำพวก แรดที่มีขนาดเล็กที่สุดลักษณะ ทั่วไปคล้ายแรด คือมีลำตัวล่ำใหญ่ ขาทั้ง 4 ข้างสั้นใหญ่ เท้ามีกีบนิ้วแข็งข้างละ 3 นิ้ว ตาเล็ก ใบหูใหญ่ตั้งตรง แตกต่างกันที่ขนาดของตัวกระซู่จะเล็กกว่าหนังตามตัวบางกว่าไม่มีลายเป็นตุ่มหรือเม็ดมีหนังเป็นพับ ข้ามหลังบริเวณด้านหลังของหัวไหล่พับเดี่ยว ส่วนของแรดมี 3 พับชัดเจน มีขนตามตัวและขอบใบหูดกกว่า โดยเฉพาะช่วงอายุน้อย ๆ ครั้นเมื่ออายุมากขึ้นขนตามตัวอาจหลุดร่วงไปบ้าง เหนือโคนหางขึ้นไปถึงบริเวณสะโพกจะปรากฏรอย สันนูนของกระดูกหางชัดเจน และที่สำคัญคือ กระซู่มีนอ 2 นอ เรียงเป็นแถวบนสันดั้งจมูกนออันหน้ายาวกว่านออันหลัง ขนาดของนออันหน้ายาวประมาณ 25 เซนติเมตร ส่วนนออันหลังยาวเพียงประมาณ 10 เซนติเมตร นอหน้าของกระซู่เมียมักเล็กกว่า แต่ยาวกวานอตัวผู้ นอตัวผู้มักใหญ่กว่า แต่สั้นกว่านอตัวเมีย นอกจากนี้ กระซู่เมื่อโตเต็มวัย จะมีฟันหน้ากรามล่าง 2 ซี่ ส่วนแรดจะมีฟันหน้ากรามล่าง 4 ซี่ ขนาดของกระซู่ ส่วนสูงที่ไหล่ 1.0 –1.4 เมตร ขนาดตัว 2.4 – 2.6 เมตร หางยาว 0.65 เมตร น้ำหนักตัว 900 – 1,000 กิโลกรัม

นกแต้วเเล้วท้องดำ






ลักษณะสีสันของเพศผู้ และเพศเมียจะแตกต่างกัน โดยนกกระแต้วแล้วเพศผู้ บริเวณหัวและท้ายทอยจะมีสีน้ำเงินแกมฟ้าสีสดใส ตัดกับใบหน้าและหน้าผาก ซึ่งมีสีดำสนิท คอสีขาวครีมอกส่วนบนเป็นแถบสีเหลืองสด อกส่วนล่างจะมีสีดำเป็นมัน ท้องและก้นสีดำ สีข้างและข้างลำตัวเป็นสีเหลือง และมีลายสีดำสั้นๆ คาดเป็นบั้งๆ ตลอดแนวลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแกมเหลือง ปีกเป็นสีน้ำตาลเข้มกว่าลำตัวเล็กน้อย หางและขนคลุมทางด้านบนเป็นสีฟ้าอมเขียวราวกับสีของเครื่องะดับประเภทหยก กลางหางเป็นสีดำเรียบๆ ขาเป็นสีชมพูเรื่อๆ ปากเป็นสีดำ ส่วนนกแต้วแล้วเพศเมีย ลักษณะเด่นก็คือ หัวและท้ายทอยสีน้ำตาลเหลือง บริเวณหัว ตา หลังตา และขนคลุมหูสีดำ คอสีเหลืองครีม บริเวณส่วนล่างของลำตัวมีสีขาวอมเหลืองและมีลายสีดำสั้นๆ คาดตามขวางของ ลำตัว ส่วนหาง ด้านบนของลำตัว ปีกและส่วนอื่นๆ คล้ายเพศผู้ แต่เพศเมียแต่เพศเมียจะมีขนาดย่อมกว่าเพศผู้เล็กน้อยโดยทั่วไปนกกระแต้วแล้วท้อวดำมีขนาดความยาวประมาณ 22 ซ.ม. เป็นนกที่มีขนาดเล็ก ลำตัวอ้อนป้อม หัวโต ขาแข็งแรง หางสั้น เวลาหากินชอบกระโดอยู่ตามพื้นป่า และ ส่งเสียงร้องไปด้วย นกกระแต้วแล้วท้องดำเป็นนกที่มีเขตการกระจายพันธุ์ค่อนข้างจำกัด อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 7-12 เหนือ พบได้ทางตอนไต้สุดของพม่า แถบเทือกเขาตะนาวศรี ในประเทศไทยเคยพบบตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ถึงจังหวัดตรัง



นกกระแต้วแล้วท้องดำชอบอาศัยอยู่ตามป่าซึ่งอยู่ในระดับต่ำ ชอบอยู่ตามลำพังไม่รวมกลุ่ม เดินและกระโดดหากินอยู่บนพื้นดินการทำรังวางไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน นกกระแต้วแล้วท้องดำล้วนสร้างรังบนต้นไม้ที่มีหนามแหลมโดยรังสูงจากพื้นดินประมาณ 1-2.5 เมตร ลักษณะของตัวรัง มีรูปร่างกลมป้านคล้ายลูกบอลขนาดย่อมๆมีทางเข้าออกอยู่ทางด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว ตัวรังสร้างจากเศษใบไม้แห้งและกิ่งไม้เล็กๆ โดยภายในรังบุด้วยรากไม้เล็กๆ หรือเส้นใยนุ่มๆ จากใบไม้ ส่วนภายนอกมีหนามจากต้นไม้ที่มันทำรังเป็นเกราะคุ้มภัยอีกชั้นหนึ่ง ต้นไม้ที่พบว่านกแต้วแล้วท้องดำใช้ทำรัง ได้แก่ ต้นระกำ กอหวาย หรือต้นชิง ซึ่งขึ้นริมลำธารเล็กๆ ทำให้เป็นการสะดวกที่พ่อแม่นกจะหาอาหารมาเลี้ยงลูก การวางไข่ของนกแต้วแล้วท้องดำวางไข่ครั้งละประมาณ 3-4 ฟอง ไข่มีละกษณะสีขาวนวล แต้มด้วยจุดสีน้ำตาลเล็กๆ โดยทั่วไปนกแต้วแล้วท้องดำจะเริ่มจับคู่ผสมพันธุ์ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงกรกฎาคม ระยะของการกกไข่ยังไม่ชัดเจน แต่คาดว่าอยู่ระหว่าง 10-14 วัน โดยทั้งพ่อและแม่ช่วยกันกกไข่ เมื่อไข่ฟักออกเป็นตัว พ่อแม่นกจะทำลายเปลือกไข่โดยกินเสียทั้งหมด เพื่อเป็นการอำพรางศัตรู เพียงหนึ่งสัปดาห์ลูกนกเริ่มมีขนเป็นเส้นกลมๆ สีเทาดำอยู่ทั่วทั้งตัว เมื่ออายุได้ 14 วัน ขนจะขึ้นเต็มตัว จากการศึกษาพบว่าลูกนกจะออกจากรังเมื่ออายุประมาณ 15-16 วัน อาหารของนกกระแต้วแล้วท้องดำ ได้แก่ ไส้เดือนตัวอ่อนของแมลง แมลงต่างๆ หอยทาก กบ ปลวก เป็นต้น นกแต้วแล้วท้องดำมีอุปนิสัยชอบทำรังใกล้ลำธารที่มีดินอ่อนนุ่ม ซึ่งทำให้ง่ายต่อการหาอาหารและอาหารอุดมสมบูรณ์กว่าบริเวณที่ดอน นกแต้วท้องดำจะกระโดดอย่างคล่องแคล่วไปตามพื้นดินแล้วใช้ปากจิกหรือพริกใบไม้เพื่อหาอาหาร หรือใช้ปากขุดเพื่อหาไส้เดือน โดยจิกคาบเหยื่อใหม่พร้อมเหยื่อเก่าไว้ในปากจนกระทั่งเต็มปาก จึงจะนำกลับมาป้อนให้ลูกont>
เนื่องจากนกแต้วแล้วท้องดำเป็นนกที่หายาก และเป็นนกที่พบได้เฉพาะถิ่นจึงทำให้นักนิยมเลี้ยงนกอยากได้ไว้มาครอบครอง และทำให้ราคานกแต้วแล้วท้องดำพุ่งสูงขึ้น ยิ่งราคาแพงก็ยิ่งมีผู้เสาะแสวงหามาไว้ครอบครอง เพราะว่าเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ และมีสีสันสวยงาม นอกจากนี้การทำลายถิ่นที่อยู่อาศัย เช่น การตัดไม้ทำลายป่า เพราะว่าระบบนิเวศของนกแต้วแล้วท้องดำ เป็นป่าดงดิบต่ำ ซึ่งเป็นพื้นที่เหมาะอย่างยิ่งในการทำงานเกษตร เช่น สวนปาล์มน้ำมัน สวนยางพารา เพราะสภาพพื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์ส่งผลให้เกิดการแผ้วถางยึดถือครอบครองถิ่นที่อยู่อาศัยของนกเกิดขึ้นอย่างกว้าขวางนอกจากนั้นโครงการพัฒนาต่างๆ เช่น การสร้างเขื่อน ตัดถนน หรือพัฒนาในการตั้งถิ่นฐานเป็นเมืองของมนุษย์ ก็ล้วนเป็นสาเหตุของการทำให้นกอยู่ในภาวะล่อแหลมใกล้สูญพันธุ์แทบทั้งสิ้น นอกจากนี้ก็มีศัตรูในธรรมชาติ เช่น งู หนู หรือสัตว์ผู้ล่าอื่นๆ

แมวลายหินอ่อน


แมวลายหินอ่อน
เสือหรืออืแมวป่าทุกชนิด เป็นสัตว์กินเนื้อที่มีวิวัฒนาการมาเพื่อเป็นนักล่าเหยี่ออย่างแท้จริงมีเขี้ยวที่มีขนาดใหญ่ยาวและแหลมคม 2 คู่ ใช้กัดสังหารเหยี่อ ส่วนฟันกรามมีลักษณะคมคล้ายใบมีดใช้สำหรับกัดฉีกเนื้อ มีเล็บแหลมคมทุกนิ้ว ครั้นเวลาใช้ต่อสู้หรือล่าเหยี่อเล็บจะกางออกเป็นกรมเล็บได้ทำให้เล็บที่มีความแหลมคมใช้เปป็นอาวุธได้ดีมาก ส่วนเท้าหน้านั้นมี 5 นิ้ว แต่นิ้วโป้งสั้นและแยกสูงกว่าอีก 4 นิ้วคล้ายมือ จึงเหมาะต่อการตะปบคว้าเหยื่อ เท้าหลังมี 4 นิ้วขนาดเท่า ๆ กันใต้ฝ่าเท้าและนิ้วมีขนปกคลุมทั่ว ทำให้การเคลื่อนที่เป็นไปได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็วและเงียบตามีขนาดใหญ่ ตำแหน่งของตาอยู้ด้านหน้าและใกล้กัน ทำให้การมองภาพมีประสิทธิภาพสูงและการกะระยะแม่นยำ ใบหูกลมมีกล้ามเนื้อสำหรับขยับหูเพื่อปรับทิศทางรับเสียงได้ มีประสิทธิภาพสำหรับฟังเสียงดีมาก
แมวลายหินอ่อนจัดอยู่ในจำพวกเสือเล็ก วงศ์ย่อย Felinae ขนาดของลำตัวโตกว่าแมวบ้านไม่มากนัก และมีลวดลายตามตัวดูเลอะเลื่อนคล้ายลายหินอ่อนขัด จึงเรียกว่าแมวลายหินอ่อน ลักษณะคล้ายเสือเมฆ แตกต่างกันที่ขนาดเล็กกว่ากันมาก หัวกลมลำตัวยาว หางเป็นพวงยาว ใบหุกลม หลังใบหูสีดำมีแต้มจุดสีขาวตรงกลางคล้ายหูแมวดาว ขนตามตัวนุ่มหนาสีน้ำตาลแกมเหลือง ขนาดของแมวลายหินอ่อนพันธุ์ไทย ขนาดตัว 45 - 53 เซนติเมตร หางยาว 47.5 - 55.0 เซนติเมตร ช่วงข้างหลัง 11.5 - 12.0 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 2 - 5 กิโลกรัม
เขตการกระจายพันธุ์ของแมวลายหินอ่อนมีอยู่ในเฉพาะในทวีปเอเซีย บริเวณตั้งแต่แถบเทือกเขาหิมาลัยในประเทศเนปาล สิกขิม แค้นอัสสัมของอินเดีย เมียนม่าร์ ไทย กลุ่มประเทสในอินโดจีน มาเลเซีย สุมาตราและบอร์เนียว ปัจจุบันมีเหลืออยู่น้อยมากในทุก ๆ แหล่ง ในประเทศไทยแหล่งที่อยู่ของแมวลายหินอ่อนพบอยู่ตามป่าดิบแถบเทอกเขาตะนาวศรี และป่าทางภาคใต้ ปัจจุบันมีเหลืออยู่น้อยหาได้ยากมาก แหล่งที่ยังคงมีแมวลายหินอ่อนอาศัยอยู่แน่นอนคือ ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี
แมวลายหินอ่อนมีความสามารถในการหลบซ่อนพรางตัวตามป่ารกทึบได้เก่ง ทำให้พบเห็นตัวในธรรมาชาติได้ยากเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ค่อยทราบจำนวนประชากรที่แท้จริงของแมวลายหินอ่อนในแต่ละพื้นที่ปีนต้นไม้เก่ง แต่ปกติแล้วชอบอาศัยหาดกินตามพื้นป่าดิบทึบใกล้แม่น้ำ ไม่ค่อยอยู่บนต้นไม้สูงเป็นประจำอย่างเสือเมฆ ออกหากินในตอนกลางคืน อาหารได้แก่สัตว์เล็ก ๆ ที่พบตามพื้นปผ่าเช่น หนู กระรอก และนกต่าง ๆ พฤติกรรมการสืบพันธุ์ส่วนใหญ่ได้จากการศึกษาแมวลายหินอ่อนในสวนสัตว์ พบว่าค่อนข้างคล้ายกับแมวบ้าน ผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ระยะตั้งท้อง 66 - 82 วัน อายุของแมวชนิดนี้จะอายุยืนยาวประมาณ 12 ปี
เนื่องจากเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบอยู่ใกล้คน ชอบซุกซ่อนพรางตัวอยู่ตามป่าทึบที่ห่างไกลคน เมื่อพบคนจึงแสดงอาการดุร้าย ทำให้ถูกฆ่าตายไป ประกอบกับการเป็นเสือที่มีลักษณะสวยงามหาได้ยากมาก เป็นสิ่งที่ต้องการของสวนสัตว์ต่าง ๆ และพวกชอบเลี้ยงสัตว์ป่าหายาก จึงเป็นสัตว์ที่มีราคาแพงมากชนิดหนึ่ง ทำให้มีการพยายามลักลอบดักจับขายกันเสมอ ๆ นอกจากนี้ป่าดิบชื้น ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยสำคัญถูกกทำลายลงไปมาก ทำให้ประชากรของแมวลายหินอ่อนลดน้อยลงอย่างรวดเร็วจนน่าวิตกว่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอัน

นกกระเรียน :Grus antigone








เป็นนกขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายนกกระสา คอยาว ขายาว จงอยปากยาวตรงปรายเรียวแหลมแตกต่างกันเด่นชัดที่ขนปีกบินกลางปีก (Secondaries) ยาวคลุมเลยปลายขนหาง ส่วนขนปีกบินกลางของนกกระสาจะสั้นกว่า คลุมไม่ถึงปลายขนหางส่วนใหญ่ขนของลำตัวเป็นสีเทา แต่ขนปลายปีกสีค่อนข้างดำ คอตอนบนและหัวเป็นหนังเปลือยเปล่าสีแดง ไม่มีขน ตอนหน้าผากและตอนบนของหัวนั้นเป็นหนังสีเขียวอ่อนๆข้างแก้มและท้ายทอย ผิวหนังเป็นสีแดงเข้ม ม่านตาสีเหลืองเข้ม ปากสีดำแกมเขียว แข้งและนิ้วเท้าสีชมพูเรือๆ นกที่อายุยังน้อยมีขนอุยสีน้ำตาลที่หัวและคอด้วย ขนาดลำตัวมีความยาวประมาณ 152 ซ.ม.สูงราว150 ซ.ม. เป็นนกที่สูงและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
นกกระเรียนไทยในสมัยก่อนเป็นนกที่พบเห็นได้ประปราย ตามทุ่งนาแทบทุกภาคของประเทศไทย ชอบอาศัยหากินตามพื้นที่ชุ่มน้ำเช่น หนอง บึง ทุ่งนา ทุ่งหญ้าที่น้ำขัง ทุ่งหญ้าโล่งๆในบางครั้งพบหากินตามชายฝั่งของแม่น้ำด้วย เหตุที่นกกระเรียนชอบอาศัยและเดินหากินในที่โล่งๆ ไม่ขึ้นไปเกาะต้นไม้อย่างนกอื่นๆ เพราะไม่มีนิ้วเท้าหลังเพื่อใช้ประโยชน์ในการเกาะ จึงเป็นนกที่ไม่สามารถเกาะบนต้นไม้ได้ ต้องใช้ชีวิตอยู่บนที่โล่ง ในขณะที่กระแสการพัฒนาพื้นที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้แหล่งอาศัยหากินเปลี่ยนแปลงสภาพ จากพื้นที่ชุ่มน้ำไปสู่พื้นที่เพื่อการเกษตรพื้นที่ อุตสาหกรรมพื้นที่เมือง เป็นต้น จึงทำให้ประชากรของนกถูกจำกัดบริเวณในการหากินหรือย้ายแหล่งหากินไปในถิ่นอื่น


นกกระเรียนไทยซึ่งเข้าใจว่าสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย เป็นนกประจำถิ่นของประเทศไทยเป็นนกที่ชอบไปไหนมาไหนเป็นฝูงใหญ่ ฝูงนกกระเรียนไทยจะบินเป็นแถวรูปตัววี (V) หรือบางทีก็เป็นแถวหน้าหระดาน โดยนกที่บินนำหน้าจะส่งเสียงร้องเพื่อเตือนให้นกตัวอื่นๆบินอยู่ในแถวหรือบินจับกลุ่มไว้ เสียงร้องจะดังมาก ตามปกตินกกระเรียนไทยจะบินสูงมาก แต่จะสูงมากน้อยขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับทิศทางของลม ในเวลาบินคอนกกระเรียนไทยจะยืดยาวออกไปข้างหน้าและขายื่นไปข้างหลัง เช่นเดียวกับพวกนกกระสา ในบางครั้งมันก็พากันบินร่อนเป็นวงกลมอีกด้วย นกกระเรียนไทยจะกระพือปีกลงช้าๆ สลับกับกระพือปีกขึ้นอย่างรวดเร็ว มมันไม่ชอบร่อนนอกจากในเวลาที่จะลงพื้นดิน นกกระเรียนไทยมักจะร้องบ่อยในช่วงฤดูผสมพันธุ์ และในขณะบินข้ามถิ่น เสียงร้องดังก้องและได้ยินได้ในระยะไกล ในขณะบินเสียงร้องอันดังก้องนี้จะเป็นตัวในการควบคุมนกแต่ละตัวให้บินได้โดยไม่แตกจากฝูง ส่วนในเวลาที่มันกำลังหากินบนพื้นดิน บางครั้งก็ส่งเสียงร้องเหมือนกัน โดยทั่วๆ ไป นกกระเรียนไทยจะผสมพันธุ์กันในระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน ซึ่งตรงกับฤดูฝนนกกระเรียนไทยเป็นนกที่หวงแหนแหล่งผสมพันธุ์ของมันมาก และจะกลับมายังแหล่งผสมพันธุ์เดิมของมันยกเว้นแหล่งผสมพันธุ์จะถูกทำลายจนหมดสภาพไปแล้ว นกกระเรียนไทยจะวาไข่ครั้งละประมาณ 2 ฟอง แต่บางครั้งก็ฟองเดียว มีน้อยครั้งที่จะวางไข่ถึง 3 ฟอง ไข่มีลักษณะรูปไข่ยาว สีขาวแกมฟ้าหรือเขียวอ่อน บางทีไม่มีจุด บางทีมีจุดสีน้ำตาลหรือม่วงจางๆ ไข่ยาวเฉลี่ย 101.1 มม. กว้าง 63.8 มม. หนักประมาณ 120-170 กรัม ระยะเวลาในการกกไข่จะอยู่ในช่วงระหว่าง 28-30 วัน ถึงแม้จะวางไข่ครั้งละประมาณ 2 ฟอง แต่จะรอดตายเพียงครั้งเดียว ลูกนกจะได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อนกประมาณ 2.5-3 เดือน ลูกนกจึงจะเริ่มบินได้ นกกระเรียนไทยจะโตเต็มวัยและเริ่มจับคู่ผสมพันธุ์เมื่ออายุประมาณ 3-5 ปี การทำรัง นกกระเรียนไทยจะทำรังบนพื้นดินด้วยหญ้าแห้งและใบไม้มากองสุมกันขนาดใหญ่ กว้างประมาณ 60-240 ซ.ม. โดยมีที่กำบังมิดชิดและยากที่จะเข้าถึงได้ง่าย เพราะอยู่บนพื้นดินกลางหนอง บึงหรือมีน้ำแฉะๆ ล้อมรอบ ทั้งนกตัวผู้และนกตัวเมียจะช่วยกันทำรังและเลี้ยงดูลูกอ่อน ลูกนกจะอยู่กับพ่อแม่นกประมาณ 9 เดือน จึงจะแยกออกไปหากินเอง พอถึงฤดูผสมพันธุ์ลูกนกจะกลับมารวมฝูงอีกครั้งหนึ่ง

นกกระเรียนไทยได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยนานมาแล้ว ปัจจุบันนกกระเรียนไทยได้ถูกให้จัดให้เป็นสัตว์ป่าสงวน ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นหนึ่งใน สิบห้าชนิดสัตว์ป่าสงวนของไทย ทั้งนี้เพราะคนสมัยก่อนได้ล่ายิงกันมาก รวมทั้งถิ่นที่อยู่อาศัยของมันก็ถูกคุกคาม จนกระทั่งไม่สามารถดำรงชีวิตและอาศัยอยู่ได้ โดยได้หายสาปสูญไปจากประเทศไทยกว่า 20 ปีมาแล้ว ปัจจุบันกรมป่าไม้ได้พยายามนำนกกระเรียนไทยกลับสู่ ถิ่นเดิมของมันในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง โดยความริเริ่มของมูลนิธิสากลเพื่อการอนุรักษ์นกกระเรียน(International Crane Foundation) หรือ ICF แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับกรมป่าไม้ โดยมีการศึกษาและขยายพันธุ์ตามโครงการอนุรักษ์นกกระเรียนที่เขตห้ามล่า สัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี หากการศึกษาขยายพันธุ์ ได้นกกระเรียนเป็นจำนวนมาก กรมป่าไม้มีโครงการนำ นกกระเรียนไทยเหล่านั้นไปปล่อยตามแหล่งเดิม ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นแหล่งอาศัยและหากินตามธรรมชาติ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ